วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

การจัดแสงเบื้องต้น

การจัดแสงเบื้องต้น

การที่เราจะจัดแสงเราต้องตัดสินใจก่อนว่าเราอยากได้แสงแบบไหนในฉาก โดยสามารถดูจากในฉากได้ว่าสถานที่ที่เราจะถ่ายมีไฟอะไรที่มีอยู่แล้วบ้าง และจะต้องจัดแสงตรงส่วนใดเพิ่มบ้าง 

คุณภาพแสง

1.แสงกระด้าง(Hard Light)

คือแสงที่ส่องมาแล้วมีสันขอบของเงาชัดเจน สามารถบอกทิศทางแสงได้ โดยแสงกระด้างจะเห็นพื้นผิวของวัตถุได้ชัดเจนเช่น ผิวหน้าของคน โดยด้านตรงข้ามของแสงที่ตกกระทบวัตถุจะเป็นเงาดำ 

2.แสงนุ่ม(Soft Light)

คือแสงที่ส่องมาแล้วมีสันขอบของเงาไม่ชัดเจน แสงจะมีความฟุ้งกระจายมาก บอกทิศทางแสงได้ยาก
แสงจะทำให้พื้นผิวของวัตถุมีความเรียบเนียนมากขึ้นเช่น ผิวหน้าคนที่เป็นสิวก็อาจจะเห็นได้น้อยลง
ในกล้อง

การจัดแสงในสตูดิโอ

การจัดแสงในสตูดิโอนั้นจะต้องคิดแสงขึ้นมาเองรวมทั้งแหล่งแสงด้วย โดยส่วนมากจะเรียกไฟแต่ละตัวด้วยชื่อเฉพาะตามนี้

1.ไฟหลัก(Key Light)

ส่วนมากจะเป็นไฟที่มีกำลังแสงมากที่สุด โดยส่องมาจากแหล่งแสงโดยตรง โดยส่วนมากจะส่องมาจากทาง45องศาของตัวแบบ

2.ไฟลบเงา(Fill Light)

หากไฟหลักเป็นแสงกระด้างและเราไม่ต้องการให้ด้านตรงข้ามของไฟมีเงามาก เราก็ต้องหาไฟที่มีกำลังไฟน้อยกว่าไฟหลักมาลบเงา หรืออาจจะใช้โฟมสะท้อนจากไฟหลักก็ได้

3.ไฟส่องพื้นหลัง(Background Light)

หากฉากที่อยู่ด้านหลังของตัวแบบมืดเกินไป จะใช้ไฟอีกดวงมาเปิดใส่พื้นหลังเพื่อให้ฉากมีความสว่างขึ้นมา

4.ไฟแยกตัวแบบออกจากฉาก(Back Light)

การที่ไฟหลักเป็นแสงกระด้างทำให้พื้นหลังเกิดเงาและบางทีก็ทำให้ผมหรือบางส่วนของตัวแบบจมไปกับพื้นหลังจึงต้องใช้ไฟเพื่อแยกตัวแบบออกจากฉาก


อุณภูมิของแสง

อุณภูมิของแสง(Color Temperature)

มีหน่วยเป็นองศาเคลวิน(Degree Kelvin)และเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าองศาที่น้อยจะให้แสงโทนสีเหลืองและค่าองศาที่สูงจะให้แสงโทนสีขาวหรือขาวอมฟ้า ตามลำดับ

1.เฉดสีขาวอมเหลือง(Warm White)

แสงสีขาวอมเหลือง ค่าองศาเคลวินจะอยู่ประมาณ2700K-3200K จะถูกใช้บ่อยๆในการตกแต่งพื้นที่ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องรับแขก ที่ทำให้ความรู้สึกผ่อนคลาย

2.เฉดสีขาว (Cool White)

สีขาวสว่างจะมีค่าองศาเคลวินที่5000K-6500Kจะถูกใช้บ่อยๆในการตกแต่งห้องครัว ห้องน้ำ              ห้องทำงาน โรงพยาบาล โรงงาน

3.เฉดสีขาวอมฟ้า (Daylight)

สีขาวDaylight จะมีค่าองศาเคลวินที่ 7000K-7500K จะเป็นแสงที่สบายตาที่สุด


เครื่องวัดแสง


เครื่องวัดแสงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับคำนวนปริมาณของแสงที่ถูกต้อง สามารถบอกเป็นตัวเลขของ        รูรับแสง(Aperture)และความเร็วชัตเตอร์(Shutterspeed)เครื่องวัดแสงมีประเภทดังนี้

1.วัดแสงสะท้อน(Reflected Light)

คือวัดปริมาตรของแสงที่สะม้อนจากวัตถุไปยังกล้องถ่ายภาพ เหมือนระบบวัดแสงภายในตัวกล้องนิ่ง
นิยมใช้ในงายถ่ายภาพนิ่ง การเทสต์แฟรช เพราะตัวกล้องจะไม่ได้บันทึกค่าแสงแฟรชไว้ แต่เครื่องวัดแสงแบบ Reflected Light จะบันทึกค่าแสงตอนแฟรชวาบออกมาให้เห็น หรือใช่ในกรณีที่ไม่สามารถ
เดินเข้าไปวัดแสงที่วัตถุได้เช่น ถ่ายเทือกเขาจากหน้าผา ถ่ายเมืองทั้งเมือง หรือถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์

2.วัดแสงแบบเฉพาะจุด(Spot Light)

คือการวัดแสงสะท้อนแบบหนึ่ง แต่เป็นพื้นที่เล็กๆ เพียงจุดใดจุดหนึ่งที่สำคัญ จึงทำให้มีความถูกต้องแม่นยำมากแม้ระยะทางไกลๆ วิธีการใช้เหมือนกับการส่องกล้อง เล็งให้จุดในวิวไฟนเดอร์ของเครื่องวัดแสง ตรงกับวัตถุที่จะวัดแสง

3.วัดแสงแบบแสงตกกระทบหรือแสงตรง(Incident Light)

คือการวัดแสงที่กระทบวัตถุโดยตรง วิธีการวัดแสงก็ให้นำเครื่องวัดแสงไปอยู่ตรงหน้าวัตถุหันส่วนรับแสง(Diffuser-เป็นพลาสติกสีขาวรูปวงกรม) ไปยังทิศทางของแหล่งแสง จะเป็นการวัดแสงตกกระทบโดยตรง



วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

การใช้สัญญาอนุญาต

งานชิ้นนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่จะนำผลงานมาดัดแปลง แก้ไข พัฒนา ต่อเติม ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา 4.0 International.

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

แนะนำตัวผู้เขียน


ชื่อ:นรวิชญ์ ค้ำสกุล
ชื่อเล่น:เต้
อายุ:21
วันเกิด:27/02/1996
เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ชั้นปีที่3
สถานะ:มีแฟนแล้ว(ไม่ต้องมาจีบ☺)
ที่มาของBlog : ผมเป็นคนที่เรียนอยู่สาขาภาพยนตร์เราอยากจะเผยแพร่ความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในสาขานี้มาให้เพื่อนๆที่เข้ามาอ่านบล็อคได้ความรู้เกี่ยวกับหลักการหรือทฤษฎีที่เราพอรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพหรือการถ่ายทำภาพยนตร์ และสามารถนำไปใช้ได้จริงๆ ผมจะพยายามหาความรู้และประสบการณ์มาใช้กับบล็อคนี้ให้ได้มากที่สุดนะครับ